หน้าแรก - InfoPortal

รวมบทความ และข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการและบริการสำหรับประชาชนที่ทุกคนอยากรู้ เช่น ประกันสังคม สิทธิการรักษา สวัสดิการความช่วยเหลือ และอื่น ๆ ในเว็บเดียว


สิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของผู้ประกันตน จะสิ้นสุดลงในกรณี ต่อไปนี้ เสียชีวิต กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ลาออกจากการเป็นผู้้ประกันตน ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (กรณีนี้พบได้บ่อย) ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (สิทธิจะสิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) หากมีเหตุให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ม.39 สามารถขอคืนสิทธิได้โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคมในช่องทางที่สะดวก เพื่อขอเช็กสิทธิและสอบถามรายละเอียดในการขอคืนสิทธิได้

www.portal.co.th

กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 180 วัน กรณีที่ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ช่วงว่างงาน 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 90 วัน การว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เช่น การเกิดโรคระบาด (ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19) จนเป็นเหตุให้นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือหน่วยงานภาครัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หมายเหตุ: ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวทาง เว็บไซต์ DOE ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อรักษาสิทธิในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน หรือ รายงานตัวกรณีว่างงานได้ที่

http://www.portal.co.th

“เด็ก” คือใคร คำจำกัดความในทางกฎหมายของ “เด็ก” คือ ผู้เยาว์ หรือ คนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ให้ได้รับการช่วยเหลือ มีสวัสดิภาพ สิทธิในด้านต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยสิทธิที่เด็กจะได้รับต้องมีความเท่าเทียมและไม่ถูกละเมิด เด็ก และ เยาวชน ต่างกันอย่างไร? แม้ว่า “เด็ก” และ “เยาวชน” จะมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่สามารถให้คำจำกัดความออกมาได้ คือ เด็ก คือคนที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง ส่วนเยาวชน คือ คนที่มีช่วงวัยอยู่ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ อาจต้องมีคนช่วยดูแล แต่ไม่ต้องใกล้ชิดเท่ากับเด็ก

2 Comments

Previous Post Next Post